หน้าเว็บ

วันพุธที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

อาหารประจำชาติ

อาหารประจำชาติกัมพูชา


อาม็อก เป็นอาหารคาวยอดนิยมของกัมพูชามีลักษณะคล้ายห่อหมกของไทย โดยเป็นการนำเนื้อปลาสด ๆ ลวกพริกเครื่องแกง และกะทิแล้วทำให้สุกโดยการนำไปนึ่ง ซึ่งนอกจากจะใช้เนื้อปลาแล้วอาจเลือกใช้เนื้อไก่แทนก็ได้ ส่วนสาเหตุที่คนในประเทศกัมพูชานิยมรับประทานปลาเนื่องจากสภาพภูมิประเทศของกัมพูชามีแหล่งน้ำอุดมสมบูรณ์ทำให้ปลาเป็นอาหารที่หารับประทานได้ง่ายนั่นเอง

ส่วนผสม
-ไข่ไก่                                    -กะทิสด                                -พริกแกง                              -ใบยอ
-ปลาน้ำจืด                            -พริก                                      -ใบมะกรูดหั่นฝอย              -เกลือ
-น้ำตาล                                  -กระทงสี่มุม                        -ข้าวสวย                                -หอมซอย


วิธีทำ
๑. นำพริกแกง กะทิ และไข่ไก่ คนให้เข้ากัน
๒. ใส่เครื่องปรุงรสลงในภาชนะผสมแล้วคนให้เข้ากัน
๓. ใส่เนื้อปลาน้ำจืดหัดเป็นชิ้นพอคำลงไปผสม
๔. นำใบยอใส่ลงที่กระทงสี่มุมที่เตรียมไว้
๕. ตักส่วนผสมที่เข้ากันดีแล้วลงในกระทง นึ่งด้วยความร้อนประมาณ ๑๐นาที หรือจนสุก
๖. ตกแต่งโดยราดหัวกระทิเคียวสุกและพริกแดงให้สวยงาม
๗. เสิร์ฟพร้อมข้าวสวยร้อน โรยด้วยหอมซอย

ชุดประจำชาติกัมพูชา

ชุดประจำชาติของประเทศกัมพูชา





          ชุดประจำชาติของกัมพูชาคือ ซัมปอต (Sampot) หรือผ้านุ่งกัมพูชา ทอด้วยมือ มีทั้งแบบหลวมและแบบพอดี คาดทับเสื้อบริเวณเอว ผ้าที่ใช้มักทำจากไหมหรือฝ้าย หรือทั้งสองอย่างรวมกัน ซัมปอตสำหรับผู้หญิงมีความคล้ายคลึงกับผ้านุ่งของประเทศลาวและไทย ทั้งนี้ ซัมปอดมีหลายแบบซึ่งจะแตกต่างกันไปตามชนชั้นทางสังคมของชาวกัมพูชา ถ้าใช้ในชีวิตประจำวันจะใช้วัสดุราคาไม่สูง ซึ่งจะส่งมาจากประเทศญี่ปุ่น นิยมทำลวดลายตามขวาง ถ้าเป็นชนิดหรูหราจะทอด้ายเงินและด้ายทอง

สถานที่ท่องเที่ยวในกัมพูชา

ประเทศกัมพูชา



มาชมสถานที่ท่องเที่ยวของประเทศกัมพูชากันนะคะ


ศิลปะขอมโบราณ บายน นครวัด

• ศิลปะแบบนครวัด (พ.ศ.1650-1718) ศิลปะนครวัด ส่วนใหญ่จะเป็นรูปภาพของการเล่าเรื่องราว แต่จะไม่มีลวดลายของพรรณไม้ บริเวณตรงกลางภาพจะมีขนาดเล็กและมีรูปสัตว์ใหญ่ๆได้แก่ หงส์ นาค ใช้แทนที่ลายหน้ากาล ได้แก่ ปราสาทบึงมาลา ปราสาทนครวัด ปราสาทเจ้าสายเทวดา ปราสาทเขาพระวิหาร ปราสาทพนมจิสอ ประเทศไทยพบเห็นศิลปะแบบนี้ได้ที่ ปราสาทปรางค์กู่ จังหวัดศรีสะเกษ ปราสาทศรีขรภูมิ จังหวัดสุรินทร์ และปราสาทหินพิมาน จังหวัดนครราชสีมา
• ศิลปะแบบบายน (พ.ศ.1720-1780) ศิลปะแบบนี้มีลักษณะที่พิเศษ ได้แก่ มีภาพจำหลักที่ส่วนมากจะเป็นเรื่องราวของประวัติศาสตร์ ภาพของชีวิตทั่วๆไป ได้แก่ ปราสาทนาคพัน ปราสาทตาพรหม ปราสาทบันทายกุฎี ปราสาทบายน ปราสาทฉมาร์ ปราสาทพระขรรค์ ปราสาทตาสม และปราสาทตาเนี๊ยะ ประเทศไทยพบเห็นศิลปะแบบนี้ได้ที่ ปราสาทตาเหมือน จังหวัดสุรินทร์ ปราสาทโคกปราสาท จังหวัดบุรีรัมย์ ปราสาทเมืองสิงห์ จังหวัดกาญจนบุรี ปราสาทปรางค์สามยอด จังหวัดลพบุรี กำแพงวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ จังหวัดราชบุรี พระปรางค์วัดกำแพงแลง จังหวัดเพชรบุรี พระปรางค์วัดพระพายหลวง จังหวัด




สีหนุวิลล์ เมืองท่าตากอากาศและท่าเรือน้ำลึกแห่งเดียวของกัมพูชา

สีหนุวิลล์ (Sihanoukville) เป็นจังหวัดเล็กๆทางตอนใต้ของประเทศกัมพูชา และยังเป็นอีกเมืองท่าที่มีความสำคัญทางด้านเศรษฐกิจและการท่องเที่ยวของประเทศกัมพูชา โดยแต่เดิมเมืองท่าแห่งนี้รู้จักกันในนาม "เมืองกัมปงโสม" ซึ่งเป็นท่าเรือน้ำลึกแห่งเดียวของประเทศ และยังเป็นถึงเมืองพักตากอากาศชื่อดังอีกแห่งหนึ่งของประเทศกัมพูชาอีกด้วยค่ะ
สำหรับใครที่อยากไปเที่ยวเมืองท่าสีหนุวิลล์ คงอยากจะทราบว่ามีอะไรน่าสนใจบ้าง แน่นอนว่าคุณอาจเริ่มต้นที่ หาดOccheuteal และ หาดSerendipity และหาดอื่นๆอีกมามายหลายหาด ซึ่งคุณจะสนุกสนานไปกับกิจกรรมต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นทางบกอย่างการเดินชมหาด และกิจกรรมทางน้ำ อาทิเช่น การดำน้ำ, ตกปลา, พายเรือคายัค และล่องเรือ





หาด Ream National Park



ปัจจุบันมีนักท่องเที่ยวชาวตะวันตกเดินทางมาท่องเที่ยวเป็นจำนวนมาก เนื่องจากมีเกสท์เฮาส์ กระท่อม หรือบ้านพักต่างๆก็มีไว้คอยบริการนักท่องเที่ยวมากมาย
นอกจากการเที่ยวชมเมืองท่าแล้ว ไกลออกไปประมาณ 18 กิโลเมตร คุณยังสามารถมาเที่ยว อุทยานแห่งชาติ Ream National Park ซึ่งมีลักษณะคล้ายๆกับซาฟารี ที่ที่คุณจะได้พบกับความน่ารักของบรรดาสัตว์ป่า กวางมูส, ตัวนิ่ม และปลาโลมาพันธุ์หายากอย่าง ปลาโลมาเผือก ซึ่งจะมีให้เห็นเฉพาะช่วงเดือนธันวาคม – กุมภาพันธ์เท่านั้น





พนมเปญประเทศกัมพูชา





กัมพูชาเป็นประเทศเพื่อนบ้านทางตะวันออกของประเทศไทย ที่มีพรมแดนติดกันประมาณ 890 กิโลเมตร และมีการสื่อสาร กันด้วย ภาษา เขมร ฝรั่งเศส อังกฤษ มีระบบการปกครองเป็นรัฐบาล ประชาธิปไตย ในระบบพระมหากษัตริย์ สำหรับสภาพอากาศก็ เช่นเดียวกับประเทศไทยสภาพความเป็นอยู่ของประชาชนชาวกัมพูชานั้นนับถือศาสนาพุทธ จึงมีวัดวาอารามตั้งอยู่ทั่วประเทศ เช่นเดียวกับประเทศไทย แต่ยังอยู่ในช่วงการทำนุบำรุง หลังจากถูกทำลายไปในช่วงที่เขมรแดงปกครอง ในแง่มุมของการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม ประเทศกัมพูชาได้รับความช่วยเหลือจากสหประชาชาติ ประเทตะวันตก และประเทศอื่น ๆ หลังจากมีการเลือกตั้งทั่วไปแล้ว 2 ครั้ง   กัมพูชาเป็นประเทศเพื่อนบ้านติดกับไทย มีประวัติศาสตร์ อารยธรรมอันยาวนาน นครวัด และนครธม นับเป็นสิ่งก่อสร้างที่อัศจรรย์ชิ้นหนึ่งในเอเชีย ศิลปวัฒนธรรมที่งดงามของประเทศกัมพูชา มีความคล้ายคลึงกันมากกับศิลปวัฒนธรรมไทย ภาษาเขมรมาจากรากศัพท์สันสกฤต จึงมีคำหลายคำในภาษาเขมรที่คุ้นหูคนไทย นอกจากนี้อิทธิพลทางวัฒนธรรมของฝรั่งเศสยังคงมีให้เห็นในเมืองหลวงและต่างจังหวัดของประเทศอีกด้วย




โตนเลสาบ ทะเลสาบเขมร

ประเทศกัมพูชามีทะเลสาบน้ำจืดซึ่งเกิดจากแม่น้ำโขงขนาดใหญ่ที่สุดในเอเชียชื่อว่า “โตนเลสาป” (Tonle Sap) มีแม่น้ำโขงไหลผ่านยาว 500 กิโลเมตร จากนั้นไหลเข้าสู่เวียดนามลงสู่ทะเลจีนใต้ นับว่าเป็นแม่น้ำนานาชาติ และเชื่อกันว่าปลาบึกซึ่งเป็นปลาน้ำจืดที่ใหญ่ที่สุดในโลกว่ายทวนน้ำจากโตนเลสาบขึ้นสู่ประเทศไทย-ลาว ก่อนไปผสมพันธุ์ที่จีนซึ่งเป็นต้นแม่น้ำโขง




ปราสาทบันทายสรี

ปราสาทบันทายสรี เป็นเทวสถานขนาดเล็ก แต่มีความงามทางด้านลวดลายเป็นเลิศ ศิลปะมีลักษณะพิเศษจนต้องจัดเป็นศิลปะสมัยหนึ่งโดยเฉพาะ ศิลปะแบบบันทายสรีถูกจัดให้อยู่ในยุคราว พ.ศ. 1510-1550 ก่อสร้างด้วยหินทรายสีชมพู เนื้อละเอียด การสลักลวดลายดูอ่อนช้อย ลายคมชัด ดูมีชีวิตชีวา




ปราสาทบาปวน นครธม



ปราสาทบาปวน จัดเป็นปราสาทแรกในกลุ่มปราสาทเมืองพระนคร มีทางเดินผ่านตัวปราสาทเป็นสะพานหินยกระดับทอดยาว ทางเดินเข้าผ่านโคปุระรูปกากบาท 3 ทาง ตัวปราสาทหันหน้าไปทางทิศตะวันออก ที่ตั้งของปราสาทอยู่ในเขตพระราชวังหลวง เป็นปราสาทที่มียอดสูง มีหลักฐานจากการบันทึกของจิวต้ากวนราชทูตจากเมืองจีนในปลายพุทธศตวรรษที่ 18 กล่าวไว้ว่า ยอดปราสาทบาปวนเคลือบด้วยสำริดแลอร่ามแต่ไกล หากยอดไม่หักพังเสียก่อน คาดว่าปราสาทบาปวนอาจมีความสูงกว่าปราสาทพิมานอากาศ ซึ่งอยู่ใกล้ๆ กัน ปัจจุบันนี้ปราสาททรุดโทรมมากและกำลังได้รับการบูรณะอย่างต่อเนื่อง

ภาษา ศาสนาและวัฒนธรรม

ภาษา



ภาษาราชการของกัมพูชาคือ ภาษาเขมร อันเป็นภาษาที่จัดอยู่ในกลุ่มภาษามอญ-เขมร อันเป็นภาษากลุ่มย่อยของตระกูลภาษาออสโตรเอเชียติก นอกจากนี้ยังมีการใช้ภาษาฝรั่งเศสในกลุ่มชาวเขมรผู้สูงอายุ ซึ่งเป็นภาษาราชการหลักของอาณานิคมอินโดจีนของฝรั่งเศส ปัจจุบันภาษาฝรั่งเศสยังถูกจัดอยู่ในการเรียนการสอนในโรงเรียนบางแห่ง และบางมหาวิทยาลัยที่รัฐบาลฝรั่งเศสให้การสนับสนุน ซึ่งภาษาฝรั่งเศสได้ตกทอดจากยุคอาณานิคมมาถึงในยุคปัจจุบันและยังมีใช้ในรัฐบาลบางวาระโดยเฉพาะในศาล
ในอดีตปี พ.ศ. 2506 รัฐบาลกัมพูชาเคยประกาศห้ามมิให้บุคคลเชื้อสายไทยพูดภาษาไทย และห้ามมีหนังสือไทยไว้ในบ้าน หากเจ้าหน้าที่ค้นพบจะถูกทำลายให้สิ้นซาก โดยเฉพาะหากพูดภาษาไทยจะถูกปรับคำละ 25 เรียล และเพิ่มขึ้นเป็น 50 เรียลในปีต่อมา เพื่อตอบโต้รัฐบาลไทยในคดีเขาพระวิหาร

ศาสนา




ศาสนาในกัมพูชา
ศาสนาร้อยละ
พุทธ
  
96.4%
อิสลาม
  
2.1%
คริสต์
  
1.3%
อื่น ๆ
  
0.3%
ประเทศกัมพูชา มีศาสนาพุทธนิกายเถรวาทเป็นศาสนาประจำชาติ ที่มีศาสนิกชนกว่าร้อยละ 95 ถือเป็นศาสนาที่แข็งแกร่งและเป็นที่แพร่หลายในทุกจังหวัด มีอารามในพุทธศาสนา 4,392 แห่งทั่วประเทศ[ ชาวเขมรมีความผูกพันกับพุทธศาสนามากทั้งประเพณีและวัฒนธรรม แม้ศาสนาพุทธรวมถึงศาสนาอื่น ๆ จะถูกยกเลิกในช่วงปี ค.ศ. 1970 แต่ก็ได้รับการฟื้นฟูขึ้นใหม่อีกครั้ง นอกจากนี้ในกลุ่มชนเชื้อสายจีน ยังมีการนับถือควบคู่กันระหว่างมหายานกับลัทธิเต๋า
ศาสนาอิสลาม เป็นที่ยอมรับนับถือในชุมชนที่มีเชื้อสายจามและมาเลย์ มีศาสนิกชนราว 300,000 คน ในจังหวัดกำปงจามมีโรงเรียนสอนศาสนาอิสลามจำนวนหลายแห่ง ส่วนศาสนาคริสต์ส่วนใหญ่นับถือนิกายโรมันคาทอลิก ตามด้วยนิกายโปรเตสแตนต์ มีชาวคาทอลิกราว 20,000 คนหรือร้อยละ 0.15 นอกจากนี้ยังมีนิกายอื่น ๆ เช่น แบปติสต์ เมทอดิสต์ พยานพระยะโฮวา และศาสนจักรของพระเยซูคริสต์แห่งวิสุทธิชนยุคสุดท้าย

เมืองหลวง

พนมเปญ

(เขมร: ភ្នំពេញ ภฺนํเพญ ออกเสียงว่า พนุมปึญ; อีกชื่อหนึ่งคือ ราชธานีพนมเปญ; อังกฤษ: Phnom Penh /pəˈnɔːm ˈpɛn/ หรือ /ˈnɒm ˈpɛn/) เป็นเมืองหลวงของประเทศกัมพูชา และยังเป็นเมืองหลวงของนครหลวงพนมเปญด้วย ครั้งหนึ่งเคยได้ชื่อว่า ไข่มุกแห่งเอเชีย (เมื่อคริสต์ทศวรรษ 1920 พร้อมกับเมืองเสียมราฐ) นับเป็นเมืองที่เป็นเป้าการท่องเที่ยวทั้งจากผู้คนในประเทศ และจากต่างประเทศ[ต้องการอ้างอิง] พนมเปญยังมีชื่อเสียงในฐานะที่มีสถาปัตยกรรมแบบเขมรดั้งเดิม[ต้องการอ้างอิง] และแบบได้รับอิทธิพลฝรั่งเศส และผู้คนมีอัธยาศัยดี

กรุงพนมเปญ เป็นเมืองที่ล้อมรอบด้วยจังหวัดกันดาล และเป็นเมืองศูนย์กลางการค้า การเมือง และวัฒนธรรมของกัมพูชา มีประชากรถึง 2 ล้านคน จากประชากรทั้งประเทศ 15.2 ล้านคน



พนมเปญไม่ได้มีจุดเริ่มต้นจากการเป็นถิ่นฐานที่ตั้งหลัก จนกระทั่งเข้าสู่ยุคเมืองพระนคร หลังจากนครวัดและเมืองอื่นๆใกล้เคียงเริ่มมีชื่อเสียงโดดเด่นประจักษ์สู่สายตาประชาคมโลก ช่วงกลางศตวรรษที่ 15 เจ้าพระยาญาติย้ายราชธานีจากเมืองพระนครหนีสยามมาตั้งอยู่ที่นครวัดและสร้างพระราชวัง ณ พื้นที่ที่เป็นกรุงพนมเปญในปัจจุบัน ต่อมาภายหลังมีการสร้างเจดีย์ขึ้นซึ่งในขณะนั้นเมืองยังไม่ได้เป็นเมืองหลวงอย่างเป็นทางการ จนกระทั่งปี ค.ศ. 1866 ภายใต้การปกครองของพระบาทสมเด็จพระนโรดม พรหมบริรักษ์ จึงได้แต่งตั้งกรุงพนมเปญเป็นเมืองหลวงของประเทศ

อย่างไรก็ตามสามปีก่อนตั้งกรุงพนมเปญเป็นราชธานี กัมพูชาลงนามในสนธิสัญญายอมเป็นรัฐในอารักขาของฝรั่งเศส ซึ่งต่อมาถูกรวมเข้าเป็นส่วนหนึ่งของจักรวรรดิอาณานิคมฝรั่งเศสแถบอินโดจีนที่รวมถึงเวียดนามและลาว ภายใต้อำนาจการปกครองแบบเต็มรูปแบบของปารีส ทำให้พนมเปญมีศักยภาพและเติบโตแบบก้าวกระโดด จากเมืองที่มีขนาดเล็กกว่าหมู่บ้าน ก้าวไปสู่การพัฒนาเป็นเมืองท่าริมน้ำที่ทันสมัยของฝรั่งเศส



แม้จะมีความวุ่นวายในส่วนอื่นๆ ของประเทศทั้งก่อนและหลังสงครามโลกครั้งที่สอง แต่พนมเปญยังคงอยู่ภายใต้การปกครองของฝรั่งเศสจนกระทั่งปี ค.ศ. 1953 ภายใต้การนำของสมเด็จนโรดมสีหนุและคลื่นมวลชนชาวเขมรที่ออกมาเรียกร้องเอกราช จนได้รับเอกราชจากฝรั่งเศสอย่างสมบูรณ์ ซึ่งช่วงต้นของปี ค.ศ. 1970 พนมเปญค่อนข้างมีความสงบท่ามกลางทะเลสงครามในประเทศกัมพูชา

ในปี ค.ศ. 1975 กองกำลังเขมรแดงภายใต้การนำของพอลพตบุกโจมตีพนมเปญ หลังจากเข้ายึดครองไม่กี่วันจึงเริ่มกวาดล้างประชากรกว่าสองล้านคนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่โดยเนรเทศออกไปสู่ชนบท ภายใน 4 ปีพนมเปญแทบร้างผู้คน ยกเว้นเขตพื้นที่กักกัน เช่น S-21 และพื้นที่บางส่วนที่ชาวเขมรแดงอาศัยอยู่

เมื่อเขมรแดงถูกขับไล่ออกไปจากกรุงพนมเปญในปี ค.ศ. 1979 ผู้คนจึงค่อยๆ ทยอยกลับเข้ามาอาศัยในเมืองอีกครั้ง แต่เนื่องจากสภาพบ้านเมืองที่ถูกทำลายและทรุดโทรมอย่างมาก รวมถึงจำนวนประชากรที่เพิ่มขึ้นน้อย องค์การระหว่างประเทศจึงเริ่มเข้ามามีบทบาทและให้ความช่วยเหลือในการฟื้นฟูบ้านเมือง หลังจากการลงนามในความตกลงทางการเมืองสมบูรณ์แบบในความขัดแย้งกัมพูชา หรือที่รู้จักกันในชื่อว่า ข้อตกลงสันติภาพกรุงปารีส (Paris Peace Agreement) ในปี ค.ศ. 1991 ซึ่งคืนเสถียรภาพเต็มที่แก่ประชาชนชาวกัมพูชา

ในปี ค.ศ. 1999 กัมพูชาเข้าร่วมเป็นสมาชิกของกลุ่มประเทศอาเซียน ซึ่งสนับสนุนและดึงดูดให้ชาวต่างชาติเข้ามาร่วมลงทุนในกัมพูชามากขึ้น ถือเป็นจุดเริ่มต้นในทางที่ดีสำหรับประวัติศาสตร์หน้าใหม่ของประเทศ

การเมือง

การเมือง


สภาพการเมืองในกัมพูชาปัจจุบันถือว่ามีเสถียรภาพ พรรคการเมืองสองพรรคหลักซึ่งประกอบขึ้นเป็นรัฐบาลกัมพูชา คือ พรรคประชาชนกัมพูชา (CPP) ของสมเด็จฮุน เซน และพรรคฟุนซินเปค (FUNCINPEC) ของสมเด็จกรมพระนโรดม รณฤทธิ์ สามารถร่วมมือกันได้อย่างราบรื่น ทั้งในด้านบริหารและด้านนิติบัญญัติ รวมทั้งมีท่าทีที่สอดคล้องกันเป็นส่วนใหญ่ในประเด็นทางการเมืองสำคัญ ๆ ของประเทศ อาทิ เรื่องการนำตัวอดีตผู้นำเขมรแดงมาพิพากษาโทษ เป็นต้น

กลุ่มการเมืองฝ่ายตรงข้ามรัฐบาลยังไม่มีความเข้มแข็งมากพอ และคงสามารถทำได้เพียงแต่สร้างผลกระทบทางลบต่อภาพลักษณ์ของรัฐบาล โดยในทางการเมือง พรรคสม รังสี พรรคการเมืองฝ่ายค้านหนึ่งเดียวในสภาแห่งชาติกัมพูชา ได้เคลื่อนไหวตรวจสอบการทำงานของรัฐบาลกัมพูชาอย่างแข็งขัน พยายามชี้ให้สาธารณชนและนานาชาติ เห็นถึงการทุจริตและประพฤติมิชอบของรัฐบาล รวมทั้งการใช้อำนาจทางการเมืองเพื่อผลประโยชน์ส่วนตนและของพรรค อย่างไรก็ดี ในด้านความมั่นคง มีปรากฏการณ์ใหม่ คือ ได้เกิดกลุ่มติดอาวุธที่มีวัตถุประสงค์จะโค่นล้มรัฐบาลของสมเด็จฮุน เซน ที่สำคัญคือ Cambodian Freedom Fighters (CFF) ซึ่งมีชาวกัมพูชาสัญชาติอเมริกันเป็นหัวหน้า กลุ่มดังกล่าวได้ก่อการร้ายขึ้นในกรุงพนมเปญเมื่อวันที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2543 แต่รัฐบาลกัมพูชาสามารถควบคุมสถานการณ์ไว้ได้ และอยู่ระหว่างกระบวนการพิพากษาตัวผู้กระทำผิด

การสืบราชสันตติวงศ์[แก้]
ระบบกษัตริย์ของกัมพูชาไม่เหมือนกับระบบกษัตริย์ส่วนใหญ่ในประเทศอื่น ๆ ที่ราชบัลลังก์จะตกไปสู่ผู้มีลำดับการสืบราชสันตติวงศ์ลำดับถัดไป (ผู้ที่มีศักดิ์สูงสุดในราชวงศ์ หรือลูกคนโตของกษัตริย์องค์ก่อน เป็นต้น) และพระมหากษัตริย์ ไม่สามารถเลือกผู้ที่จะมาสืบราชสันตติวงศ์ได้ด้วยตัวเอง แต่ผู้ที่มีสิทธิ์ในการเลือกพระมหากษัตริย์องค์ใหม่นั้นคือ ราชสภาเพื่อคัดเลือกผู้ที่จะได้รับการสืบราชสันตติวงศ์ (Literally: ราชสภาเพื่อราชบัลลังก์) (Royal Council of the Throne) ซึ่งมีสมาชิกดังนี้

ประธานสภารัฐสภาแห่งราชอาณาจักรกัมพูชา
นายกรัฐมนตรี
พระสังฆราช ศาสนาพุทธ ฝ่ายมหานิกาย
พระสังฆราช ศาสนาพุทธ ฝ่ายธรรมยุติกนิกาย
รองประธานรัฐสภาคนที่หนึ่ง
รองประธานสภาคนที่สอง
ราชสภาจะจัดการประชุมในสัปดาห์ที่พระมหากษัตริย์ สวรรคตหรือ ไม่สามารถปฏิบัติพระราชกรณียกิจได้ต่อไป และเลือกพระมหากษัตริย์องค์ใหม่จากรายชื่อผู้มีสิทธิ์สืบราชสันตติวงศ์ และเป็นสมาชิกราชวงศ์

วันอังคารที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

ราชอาณาจักรกัมพูชา : Kingom of Cambodia

ราชอาณาจักรกัมพูชา : Kingom of Cambodia




                                                                             ธงชาติ


ตราแผ่นดิน


 การปกครอง : ระบอบประชาธิปไตย

สภาพการเมืองในกัมพูชาปัจจุบันถือว่ามีเสถียรภาพ พรรคการเมืองสองพรรคหลักซึ่งประกอบขึ้นเป็นรัฐบาลกัมพูชา คือ พรรคประชาชนกัมพูชา (CPP) ของสมเด็จฮุน เซน และพรรคฟุนซินเปค (FUNCINPEC) ของสมเด็จกรมพระนโรดม รณฤทธิ์ สามารถร่วมมือกันได้อย่างราบรื่น ทั้งในด้านบริหารและด้านนิติบัญญัติ รวมทั้งมีท่าทีที่สอดคล้องกันเป็นส่วนใหญ่ในประเด็นทางการเมืองสำคัญ ๆ ของประเทศ อาทิ เรื่องการนำตัวอดีตผู้นำเขมรแดงมาพิพากษาโทษ เป็นต้น

กลุ่มการเมืองฝ่ายตรงข้ามรัฐบาลยังไม่มีความเข้มแข็งมากพอ และคงสามารถทำได้เพียงแต่สร้างผลกระทบทางลบต่อภาพลักษณ์ของรัฐบาล โดยในทางการเมือง พรรคสม รังสี พรรคการเมืองฝ่ายค้านหนึ่งเดียวในสภาแห่งชาติกัมพูชา ได้เคลื่อนไหวตรวจสอบการทำงานของรัฐบาลกัมพูชาอย่างแข็งขัน พยายามชี้ให้สาธารณชนและนานาชาติ เห็นถึงการทุจริตและประพฤติมิชอบของรัฐบาล รวมทั้งการใช้อำนาจทางการเมืองเพื่อผลประโยชน์ส่วนตนและของพรรค อย่างไรก็ดี ในด้านความมั่นคง มีปรากฏการณ์ใหม่ คือ ได้เกิดกลุ่มติดอาวุธที่มีวัตถุประสงค์จะโค่นล้มรัฐบาลของสมเด็จฮุน เซน ที่สำคัญคือ Cambodian Freedom Fighters (CFF) ซึ่งมีชาวกัมพูชาสัญชาติอเมริกันเป็นหัวหน้า กลุ่มดังกล่าวได้ก่อการร้ายขึ้นในกรุงพนมเปญเมื่อวันที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2543 แต่รัฐบาลกัมพูชาสามารถควบคุมสถานการณ์ไว้ได้ และอยู่ระหว่างกระบวนการพิพากษาตัวผู้กระทำผิด




ประมุข : พระบาทสมเด็จพระบรมนาถนโรดม สีหมุนี